ลักษณะและการทำงานของคอมพิวเตอร์
ความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยีเป็นไปอย่างรวดเร็ว คอมพิวเตอร์มีบทบาทต่อชีวิตประชาชนโดยทั่วไปจนกล่าวได้ว่า ยุคนี้เป็นยุคของคอมพิวเตอร์ก็ว่าได้ ดังนั้นนักศึกษาจึงมีความจำเป็นที่จะต้องมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ เพื่อให้สามารถนำมาประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอนได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีผู้ให้ความหมายของคอมพิวเตอร์หลายท่านด้วยกัน สุวิช แทนปั้น (2533:317) ให้ความหมายของคอมพิวเตอร์ว่า "คืออุปกรณ์อิเล็กทรอ นิกส์ อย่างหนึ่ง ซึ่งสามารถรับข้อมูลและชุดคำสั่ง ซึ่งอยู่ในรูปแบบที่เครื่องสามารถรับได้ แล้วทำการคำนวณเคลื่อนย้ายข้อมูล ทำการเปรียบเทียบจนได้ผลลัพธ์ที่ต้องการ" คอมพิวเตอร์ เป็นเครื่องจักรอิเล็กทรอนิกส์ ที่ถูกสร้างขึ้นเพื่อใช้ทำงานแทนมนุษย์ในด้านการคิดคำนวณ และสามารถจำข้อมูลทั้งตัวเลขและตัวอักษรได้ เพื่อการเรียกใช้งานในครั้งต่อไป นอกจากนี้ยังสามารถจัดการกับสัญญลักษณ์ได้ด้วยความเร็วสูง โดยปฏิบัติตามขั้นตอนของโปรแกรม (ยุพิน ไทยรัตทานนท์ อ้างใน กิดานันท์ มลิทอง, 2531:160) จึงกล่าวได้ว่าคอมพิวเตอร์เป็นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ถูกสร้างขึ้น เพื่อใช้ประมวลผล โดยการรับข้อมูล และคำสั่งโดยอุปกรณ์รับข้อมูล นำข้อมูลต่าง ๆ ไปทำการประมวลผล ซึ่งได้แก่ การบันทึก เรียงลำดับ แยกประเภท คำนวณ สรุป ทำสำเนาหรือเรียกข้อมูลมาใช้ รวมถึงการส่งข้อมูลทางไกล เมื่อเครื่องคอมพิวเตอร์ทำการประมวลผลเสร็จ จะแสดงผลลัพธ์ทางหน่วยแสดงผลในรูปลักษณะต่าง ๆ ผ่านอุปกรณ์แสดงผล จากความหมายของคอมพิวเตอร์ จะเห็นได้ว่าเครื่องคอมพิวเตอร์ มีขั้นตอนการทำงาน 3 ขั้นตอนด้วยกัน คือ
ความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยีเป็นไปอย่างรวดเร็ว คอมพิวเตอร์มีบทบาทต่อชีวิตประชาชนโดยทั่วไปจนกล่าวได้ว่า ยุคนี้เป็นยุคของคอมพิวเตอร์ก็ว่าได้ ดังนั้นนักศึกษาจึงมีความจำเป็นที่จะต้องมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ เพื่อให้สามารถนำมาประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอนได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีผู้ให้ความหมายของคอมพิวเตอร์หลายท่านด้วยกัน สุวิช แทนปั้น (2533:317) ให้ความหมายของคอมพิวเตอร์ว่า "คืออุปกรณ์อิเล็กทรอ นิกส์ อย่างหนึ่ง ซึ่งสามารถรับข้อมูลและชุดคำสั่ง ซึ่งอยู่ในรูปแบบที่เครื่องสามารถรับได้ แล้วทำการคำนวณเคลื่อนย้ายข้อมูล ทำการเปรียบเทียบจนได้ผลลัพธ์ที่ต้องการ" คอมพิวเตอร์ เป็นเครื่องจักรอิเล็กทรอนิกส์ ที่ถูกสร้างขึ้นเพื่อใช้ทำงานแทนมนุษย์ในด้านการคิดคำนวณ และสามารถจำข้อมูลทั้งตัวเลขและตัวอักษรได้ เพื่อการเรียกใช้งานในครั้งต่อไป นอกจากนี้ยังสามารถจัดการกับสัญญลักษณ์ได้ด้วยความเร็วสูง โดยปฏิบัติตามขั้นตอนของโปรแกรม (ยุพิน ไทยรัตทานนท์ อ้างใน กิดานันท์ มลิทอง, 2531:160) จึงกล่าวได้ว่าคอมพิวเตอร์เป็นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ถูกสร้างขึ้น เพื่อใช้ประมวลผล โดยการรับข้อมูล และคำสั่งโดยอุปกรณ์รับข้อมูล นำข้อมูลต่าง ๆ ไปทำการประมวลผล ซึ่งได้แก่ การบันทึก เรียงลำดับ แยกประเภท คำนวณ สรุป ทำสำเนาหรือเรียกข้อมูลมาใช้ รวมถึงการส่งข้อมูลทางไกล เมื่อเครื่องคอมพิวเตอร์ทำการประมวลผลเสร็จ จะแสดงผลลัพธ์ทางหน่วยแสดงผลในรูปลักษณะต่าง ๆ ผ่านอุปกรณ์แสดงผล จากความหมายของคอมพิวเตอร์ จะเห็นได้ว่าเครื่องคอมพิวเตอร์ มีขั้นตอนการทำงาน 3 ขั้นตอนด้วยกัน คือ
11.1.1 รับโปรแกรมและข้อมูล โปรแกรมในที่นี้หมายถึงชุดของคำสั่งที่จะให้คอมพิวเตอร์ทำงาน เรียกว่า โปรแกรมคอมพิวเตอร์ ส่วนข้อมูลอาจจะเป็นตัวเลขหรือตัวหนังสือที่ต้องการให้คอมพิวเตอร์ทำการประมวลผล
11.1.2 ทำการประมวลผล หมายถึงการจัดระเบียบแบบแผนของข้อมูล เพื่อใหได้ผลลัพธ์ที่ต้องการ ซึ่งทำได้โดยการคำนวณ เปรียบเทียบวิเคราะห์โดยใช้สูตรทางวิทยาศาสตร์หรือคณิตศาสตร์วิธีการเหล่านี้ ทำได้โดยอาศัยคำสั่งหรือโปรแกรมที่เขียนขึ้น
11.1.3 แสดงผลลัพธ์ คือการนำผลลัพธ์ที่ได้จากการประมวลผลมาแสดงในรูปแบบต่าง ๆ โดยอาจจะแสดงทางจอภาพ บนกระดาษหรือวัสดุอื่น ๆ หรือจัดเก็บในแผ่นบันทึกข้อมูล (Diskette)
ระบบการทำงานของคอมพิวเตอร์
คอมพิวเตอร์ จะทำงานได้ต้องประกอบด้วยองค์ประกอบต่างๆ 3 ส่วน ด้วยกันได้แก่ ฮาร์ดแวร์ (Hardware) ซอฟแวร์ (Software) และ บุคลากร (Peopleware)
ระบบการทำงานของคอมพิวเตอร์
คอมพิวเตอร์ จะทำงานได้ต้องประกอบด้วยองค์ประกอบต่างๆ 3 ส่วน ด้วยกันได้แก่ ฮาร์ดแวร์ (Hardware) ซอฟแวร์ (Software) และ บุคลากร (Peopleware)
11.5.1 ฮาร์ดแวร์ (Hardware) หมายถึง อุปกรณ์ต่างๆ ที่ประกอบเข้าเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ ซึ่งแบ่งลักษณะการทำงานได้ 4 หน่วยคือ
1) หน่วยรับโปรแกรมข้อมูล (Input Unit) หน่วยนี้จะรับโปรแกรมและข้อมูลเข้าสู่คอมพิวเตอร์ อาจจะโดยแป้นพิมพ์ (Keyboard) เมาส์ (Mouse) หรือก้านควบคุม (Joystick) เป็นต้น
2) หน่วยประมวลผลกลาง (CPU = Central Processing Unit) ทำหน้าที่นำข้อมูลที่ได้รับมาประมวลผลตามคำสั่งของโปรแกรม และส่งผลลัพธ์ออกที่หน่วยแสดงผล หน่วยประมวลกลางแบ่งออกได้เป็น 2 หน่วยคือ
ก. หน่วยควบคุม (Control Unit) ทำหน้าที่ประสานงานและควบคุมการทำงานของคอมพิวเตอร์
ข. หน่วยคำนวณและตรรกะ (ALU = Arithmetic and Logic Unit) ทำหน้าที่คำนวณทางเลขคณิต และเปรียบเทียบตรรกะเพื่อการตัดสินใจ
3) หน่วยความจำ (Memory หรือ Storage Unit) เป็นที่เก็บโปรแกรมข้อมูลและผลลัพธ์ในเครื่องคอมพิวเตอร์ โดยทั่วไปจะใช้จำนวนไบท์ (Byte) ซึ่งเท่ากับ 1 ตัวอักขระ (Character) บอกขนาดหน่วยความจำของคอมพิวเตอร์ ประเภทของหน่วยความจำของคอมพิวเตอร์ แบ่งเป็น 2 ประเภท ได้แก่
ก. หน่วยความจำหลัก (primary storage) อยู่ภายในเครื่องโดยแบ่งเป็น 2 ส่วนสำคัญดังนี้ - รอม (ROM = Read Only Memory) เป็นหน่วยความจำที่จะถูกอ่านได้อย่างเดียว โปรแกรมจะอยู่ในเครื่องโดยถาวร - แรม (RAM = Random access Memory) เป็นหน่วยความจำที่ใช้จดจำข้อมูลและคำสั่งขณะทำงาน เมื่อปิดเครื่องข้อมูลและโปรแกรมที่อยู่ในส่วนความจำนี้จะลบหายไป
ข. หน่วยความจำรอง (Secondary storage) เนื่องจากผลลัพธ์หรือโปรแกรมบางโปรแกรมการเก็บจะกินเนื้อที่มาก ดังนั้นจึงมีการเก็บไว้ภายนอกเครื่อง เช่น แผ่นบันทึก (Floppy Disc) หรือจานแม่เหล็ก (Hard disc)
4) หน่วยแสดงผล (Output Unit) ทำหน้าที่แสดงผลจากการประมวลผล โดยอาจจะแสดงผลจากการประมวล โดยอาจจะแสดงผลให้เห็นทางจอภาพ (Monitor) เครื่องพิมพ์ (Printer) เครื่องขับจานแม่เหล็ก (Disk drive) เป็นต้น
ซอฟแวร์ (Software) คือ โปรแกรมที่เขียนขึ้น เพื่อกำหนดให้ฮาร์ดแวร์ของระบบคอมพิวเตอร์ทำงานตามที่ต้องการ โดยซอฟแวร์ตัวหนึ่ง ๆ อาจจะประกอบด้วยโปรแกรมหลายโปรแกรม เกี่ยวเนื่องและตัวโปรแกรมต้องประกอบด้วย คำสั่งที่จะสั่งให้ส่วนต่าง ๆ ของฮาร์ดแวร์ทำงาน โดยอาจจะแบ่งซอฟแวร์ตามหน้าที่ของการทำงานดังนี้ระบบปฏิบัติงาน (OS = Operating System) โปรแกรมแปลภาษา (Compiler or interpreter) โปรแกรมประยุกต์ (application program) โปรแกรมสำเร็จ (Package)
ซอฟแวร์ (Software) คือ โปรแกรมที่เขียนขึ้น เพื่อกำหนดให้ฮาร์ดแวร์ของระบบคอมพิวเตอร์ทำงานตามที่ต้องการ โดยซอฟแวร์ตัวหนึ่ง ๆ อาจจะประกอบด้วยโปรแกรมหลายโปรแกรม เกี่ยวเนื่องและตัวโปรแกรมต้องประกอบด้วย คำสั่งที่จะสั่งให้ส่วนต่าง ๆ ของฮาร์ดแวร์ทำงาน โดยอาจจะแบ่งซอฟแวร์ตามหน้าที่ของการทำงานดังนี้ระบบปฏิบัติงาน (OS = Operating System) โปรแกรมแปลภาษา (Compiler or interpreter) โปรแกรมประยุกต์ (application program) โปรแกรมสำเร็จ (Package)
11.5.3 บุคลากร (Peopleware) การทำงานของคอมพิวเตอร์จำเป็นต้องมีบุคลากร ในการควบคุมการทำงานของคอมพิวเตอร์ และจัดทำโปรแกรมซึ่งแบ่งออกได้เป็น
1) พนักงานเตรียมข้อมูล (data entry operator) ทำหน้าที่บันทึกข้อมูลลงในอุปกรณ์ต่าง ๆ เช่น บัตรเจาะรู เทปแม่เหล็ก ฯลฯ
2) พนักงานควบคุมคอมพิวเตอร์ (computer operator) ทำหน้าที่บรรจุโปรแกรมและข้อมูลเข้าเครื่องคอมพิวเตอร์ เตรียมและติดตั้งอุปกรณ์ในการใช้งานคอมพิวเตอร์ ตรวจสอบ/แก้ไข การทำงานของระบบคอมพิวเตอร์
3) นักโปรแกรมคอมพิวเตอร์ (programmer) เขียนโปรแกรมที่จะสั่งให้คอมพิวเตอร์ทำงานต่าง ๆ ตามต้องการ
4) นักวิเคราะห์ระบบ (systerm analysis) มีหน้าที่วิเคราะห์และออกแบบงานที่จะนำคอมพิวเตอร์เข้าไปใช้
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น